ประวัติเทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าจีน

ประวัติเทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าจีน



            กวนอู (จีนตัวเต็ม: 關羽; จีนตัวย่อ: 关羽; พินอิน: Guān Yǔ; เวด-ไจลส์: Kuan Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงใน ประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เกิดเมื่อวันที่ 24 เดือน 6 จีนศักราชเอี่ยงฮี ปี พ.ศ. 703 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งซวงตี่ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 เดือนที่ 7 จีนศักราชเคี่ยงเซ้ง ปี พ.ศ. 762 ในรัชสมัยของพระเจ้าฮั้งเหี่ยงตี่ มีชื่อรองว่า "หุนเตี๋ยง" (จีน: 云长) เป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ลักษณะตามคำบรรยายในวรรณกรรมสามก๊ก กวนอูเป็นผู้มีรูปร่างสูงใหญ่ 9 ฟุตจีนหรือประมาณ 6 ศอก ใบหน้าแดงเหมือนผลพุทราสุก นัยน์ตายาวรี คิ้วดั่งหนอนไหม หนวดเครางามถึงอก มีง้าวรูปจันทร์เสี้ยว ยาว 11 ศอก หนัก 82 ชั่ง เป็นอาวุธประจำกายเรียกว่า "ง้าวมังกรเขียว" หรือ "ง้าวมังกรจันทร์ฉงาย" เชี่ยวชาญและเก่งกาจวิทยายุทธ จงรักภักดี กตัญญูรู้คุณ มีคุณธรรมและซื่อสัตย์เป็นเลิศ

           กวนอูเดิมเป็นชาวอำเภอไก่เหลียง ดินแดนฮอตั๋ง ชื่อเดิมคือเผิงเสียน ชื่อรองโซ่วฉาง รูปร่างสูงใหญ่ สง่างามน่าเกรงขามแก่ผู้พบเห็น มีกำเนิดในครอบครัวนักปราชญ์ เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พิชัยสงครามและคัมภีร์หลี่ซื่อชุนชิว เป็นนักโทษต้องคดีอาญาแผ่นดิน หลบหนีการจับกุมเร่รอนไปทั่วเป็นเวลา 6 ปีจนถึงด่านถงกวน นายด่านพบพิรุธจึงสอบถามชื่อแซ่ กวนอูตกใจจึงชี้ไปที่ชื่อด่านคือ "ถงกวน" ทำให้นายด่านเข้าใจว่ากวนอูนั้นแซ่กวน หลังจากนั้นเป็นต้นมากวนอูจึงเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือเผิงเสียนเป็นกวนอู

           ต่อมาได้พบเล่าปี่และเตียวหุยที่ตุ้นก้วนและร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน กวนอูได้ร่วมรบกับเล่าปี่ปราบโจรโพกผ้าเหลืองจนราบคาบในสมัยพระเจ้าเหี้ยน เต้ แต่เล่าปี่กลับได้เพียงตำแหน่งนายอำเภออันห้อก้วน ภายหลังต๊กอิ้วซึ่งเป็นเจ้าเมืองออกตรวจราชการที่อำเภออันห้อก้วน เล่าปี่ไม่มีสินบนมอบให้จึงถูกใส่ความด้วยการเขียนฎีกาถวายพระเจ้าเหี้ยนเต้ ในข้อหากบฏ เตียวหุยโกรธจัดถึงกับพลั้งมือเฆี่ยนตีต๊กอิ้วจนเกือบเสียชีวิต ทำให้เล่าปี่ต้องหลบหนีจากการจับกุมของทางการพร้อมกับกวนอูและเตียวหุย

           วีรกรรมของกวนอูนั้นมีมากมาย เริ่มจากการร่วมปราบปรามโจรโพกผ้าเหลืองร่วมกับทหารหลวงของพระเจ้าเหี้ยนเต้ สังหารฮัวหยงแม่ทัพของตั๋งโต๊ะโดยที่สุราคาราวะจากโจโฉยังอุ่น ๆ ปราบงันเหลียงและบุนทิวสองทหารเอกของอ้วนเสี้ยว บุกเดี่ยวพันลี้หนีจากโจโฉเพื่อหวนกลับคืนสู่เล่าปี่ด้วยคำสัตย์สาบานในสวน ท้อ ทั้งที่โจโฉพยายามทุกวิถีทางเพื่อมัดใจกวนอูแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝ่า 5 ด่าน สังหาร 6 ขุนพลของโจโฉ และในคราวศึกเซ็กเพ็กโจโฉแตกทัพหนีไปตามเส้นทางฮัวหยง กวนอูได้รับมอบหมายจากขงเบ้งให้นำกำลังทหารมาดักรอจับกุม โจโฉว่ากล่าวตักเตือนให้กวนอูระลึกถึงบุญคุณครั้งก่อนจนกวนอูใจอ่อนยอมปล่อย โจโฉหลุดรอดไป โดยยอมรับโทษประหารตามที่ได้ทำทัณฑ์บนไว้กับขงเบ้ง

          เมื่อเล่าปี่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิครองเสฉวน ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองเกงจิ๋วและแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในห้า ทหารเสือของเล่าปี่ ภายหลังซุนกวนมอบหมายให้โลซกเจรจาขอเกงจิ๋วคืน กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟากไปกังตั๋งเพื่อกินโต๊ะตามคำเชิญโดยที่โลซกและทหารที่ แอบซุ่มรอบ ๆ บริเวณไม่สามารถทำอันตรายได้ ภายหลังซุนกวนเป็นพันธมิตรกับโจโฉนำทัพโจมตีเกงจิ๋ว กวนอูพลาดท่าเสียทีแก่ลิบองและลกซุนสองแม่ทัพแห่งกังตั๋งจนเสียเกงจิ๋ว พยายามตีฝ่ากำลังทหารที่ล้อมเมืองเป๊กเสียเพื่อชิงเกงจิ๋วกลับคืนแต่โดนกล อุบายจับตัวไปได้ ซุนกวนพยายามเกลี้ยกล่อมให้กวนอูยอมจำนนและสวามิภักดิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงถูกประหารพร้อมกับกวนเป๋งบุตรบุญธรรมในเดือนสิบสองของปี พ.ศ. 762

          ศีรษะของกวนอูถูกซุนกวนส่งไปมอบให้แก่โจโฉที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นกลอุบายที่หมายจะหลอกให้เล่าปี่หลงเชื่อว่าโจโฉเป็นผู้สั่งประหาร กวนอู และนำกำลังทหารไปทำศึกสงครามกับโจโฉแทน แต่โจโฉเท่าทันกลอุบายของซุนกวนจึงจัดงานศพให้แก่กวนอูอย่างสมเกียรติ นำไม้หอมมาต่อเป็นหีบใส่ศีรษะกวนอู แต่งเครื่องเซ่นไหว้ตามบรรดาศักดิ์ขุนนางผู้ใหญ่รวมทั้งสั่งการให้ทหารทั้ง หมดแต่งกายขาวไว้ทุกข์ให้แก่กวนอู ยกย่องให้เป็นอ๋องแห่งเกงจิ๋วและจารึกอักษรที่หลุมฝังศพว่า "ที่ฝังศพเจ้าเมืองเกงจิ๋ว" ศีรษะของกวนอูถูกฝังไว้ ณ ประตูเมืองลกเอี๋ยงหรือลัวหยางทางด้านทิศใต้
วามเคารพนับถือ       

           แต่เดิมจีนโบราณให้ความเคารพนับถืองักฮุยเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ สืบ ต่อกันมาเป็นเวลานานในฐานะเป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ด้วยคุณธรรมความดีของงักฮุยส่งผลให้ได้รับการยกย่องเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก ชาติและความจงรักภักดีเป็นที่กล่าวขานกันมาเป็นเวลานาน แต่ปัจจุบันเทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อได้เปลี่ยนมาเป็นกวนอูแทนในหลังยุคสาม ก๊กมานับพันปี กวนอูเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนให้ความเคารพบูชาและศรัทธา เลื่อมใสเป็นอย่างมาก กวนอูเปรียบเสมือนเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพกราบไหว้บูชาในฐานะที่เป็น เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ

          จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของจีนโบราณ กวนอูอาจมีชีวิตก่อนงักฮุยเป็นเวลาเกือบพันปี กล่าวคือกวนอูเป็นบุคคลสำคัญในสมัยยุคสามก๊ก (พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823) แต่งักฮุยมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ. 1503 - พ.ศ. 1822) กวนอูและงักฮุยเป็นวีรบุรุษที่เป็นที่กล่าวขานกันสืบต่อกันมาเป็นเวลานานใน เรื่องของความสัตย์ซื่อและจงรักภักดี ในประเทศไทยชื่อเสียงและกิตติศัพท์ความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณคนของกวนอูอาจจะเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันมากกว่างักฮุย เนื่องจากกวนอูเป็นตัวละครสำคัญในสามก๊กซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเทพบู๊ (จีน: 武圣) และมีสถานะเทียบกับเทพบุ๋น (จีน: 文圣) คือขงจื๊อ

          ในอดีตบรรพบุรุษของชนเผ่าแมนจู (จีน: 满族) คือพวกเผ่าหนี่ว์เจิน (จีน: 女真族) หรือจิน (พ.ศ. 1658 - พ.ศ. 1777) แมนจูเป็นชนเผ่าที่เรืองอำนาจขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับราชวงศ์ซ่งใต้ ภายหลังจากราชวงศ์ซ่งล่มสลายลงจนถึงราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง จนกระทั่งราชวงศ์ชิงที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวแมนจู แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านมานานหลายร้อยปี แต่การที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถืองักฮุยในฐานะวีรบุรุษต่อต้านเผ่าแมนจู หรือเผ่าจินก็ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งการให้การยกย่องและเคารพนับถืองักฮุยนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับราษฎรทั่วไป แต่ในสายตาของขุนนางบู๊และบุ๋นภายในราชสำนักชิง การให้ความเคารพนับถือบูชางักฮุยในฐานะวีรบุรุษต้านชนเผ่าจินเป็นการเปรียบ ได้กับการให้ความเคารพนับถือบูชาผู้ที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงนั่นเอง ดังนั้นราชสำนักชิงจึงวางกลอุบายยกย่องกวนอูให้เป็นอีกหนึ่งวีรบุรุษใน ประวัติศาสตร์จีน เพื่อให้กวนอูกลายเป็นที่ศรัทธาเคารพบูชาของสามัญชนทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้ มีความสัตย์ซื่อ เพื่อเป็นการลดกระแสการเคารพนับถือและเชิดชูงักฮุยให้เบาบางลง

เทพเจ้ากวนอูปางต่างๆ

          กวนอูได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ และเทพเจ้าแห่งสงคราม เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นสิริมงคลของการต่อสู้ แข่งขัน ชิงชัย กวนอูจึงมีผู้เคารพนับถือบูชามาก ซึ่งรูปบูชาของเทพเจ้ากวนอูนั้น ได้แบ่งออกเป็นหลายปาง และมีความหมายแตกต่างกันดังนี้

1. กวนอูในท่ายืน (ลี้กวนกง)
เทพกวนอูในอริยบบถตรึกตรอง ยืนถือง้าว มือซ้ายลูบหนวด ด้วยท่วงท่าที่ดูสงบเยือกเย็น ท่ายืนสื่อถึงความห้าวหาญเด็ดเดี่ยวของท่านในท่ามกลางการชิงไหวชิงพริบ เหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องบริหารกิจการหรือดูแลผู้คนเป็นจำนวนมาก ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ธุรกิจ ห้างร้าน เอาไว้ข่มบริวารให้เกรงกลัวอยู่ในโอวาท หรือที่บ้าน

2. กวนอูในท่าขี่ม้า (ฉีหม่ากวนกง)
  กวนอูผู้นำชัยบนหลังม้าเซ็กเธาว์ขณะกำลังกระโจนไปข้างหน้า หรือยกขาหน้าขึ้น กวนอูถือง้าวอยู่ในท่าพร้อมรบ แสดงออกถึงการต่อสู้ แข่งขันและเอาชนะคู่แข่งขันในทุก ๆ ด้าน



3.กวนอูในท่านั่ง (จว้อกวนกง)

กวนอูปางนั่งอ่านตำราลูบเครา (กวนกงเยี่ยตู๋) : กวนอูนั่งอ่านตำราอย่างเงียบขรึม มือหนึ่งถือตำรา อีกมือหนึ่งลูบเครา ปางนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสติปัญญา ต้องการประสบความสำเร็จในการสอบแข่งขัน
กวนอูปางนั่งอ่านตำรามีง้าวตั้ง : ลักษณะเหมือนปางอ่านตำราแต่มีง้าวตั้งอยู่ข้าง ๆ สรรพคุณเหมือนเดิมแต่เพิ่มความน่าเกรงขามเข้าไว้ด้วย
กวนอูปางนั่งอ่านตำราพร้อมบริวารด้านหลัง : ลักษณะเหมือนปางอ่านตำราแต่มีกวนเป๋ง และจิวฉองยืนอยู่บริเวณด้านหลังทั้งสองข้าง สรรพคุณเหมือนเดิม แต่เพิ่มบริวารและความน่าเกรงขาม


กวนอูปางนั่งบนบัลลังก์ : กวนอูนั่งเคร่งขรึมบนบัลลังก์ แสดงออกถึงความเจริญรุ่งเรืองอย่างสูงสุดในกิจการทุก ๆ ด้าน อีกทั้งยังมีความสงบสุข ร่มเย็น และราบรื่นอีกด้วย
 กวนอูเป็นเทพผู้ได้รับการเคารพในหลายบทบาท ดังนั้นการอัญเชิญองค์กวนอูมาไว้ในบ้าน สำนักงาน และสถานที่ประกอบการจึงนำผลประโยชน์หลายทางมาให้

วางองค์กวนอูไว้ในบ้าน เพื่อสร้างพลังแห่งการปกป้องคุ้มครองอันแข็งแกร่ง และต้านทานปราณพิฆาต พลังที่ไม่ดี หรือภูติผีปีศาจไม่ให้เข้ามาในบ้าน
ในที่ทำงาน  เพื่อ เป็นการรักษาอำนาจและสถานะ ตำแหน่งนี้เหมาะสำหรับผู้จัดการ ผู้นำ ผู้บริหาร และนักการเมือง สำหรับพนักงานในบริษัทใหญ่ การได้รับการปกป้องจากองค์กวนอูบนโต๊ะทำงาน หรือด้านหลังคุณจะช่วยขจัดปัญหาการถูกหักหลัง และการหลอกลวงในที่ทำงานได้
วางไว้ในธุรกิจ การ วางองค์กวนอู จะนำความสำเร็จในการแข่งขันทางธุรกิจมาให้ และปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากผู้ที่สร้างความเดือดร้อน องค์กวนอูช่วยป้องกันการหลอกลวงและการฉ้อฉล ส่งเสริมความซื่อสัตย์ และทำให้สิ่งต่างๆ ราบรื่น 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติเทพเจ้าจีนแปะเฮาะต่งจื้อ

ทำนาย ฝันว่างูรัด เลขเด็ด ฝันว่างูรัด แม่นๆ

ประวัติเจ้าแม่กวนอิม